เลือกหัวข้อที่สนใจ
- จัดฟันร่วมกับผ่าตัดขากรรไกร คืออะไร
- จัดฟันร่วมกับผ่าตัดขากรรไกร ต้องจัดฟันก่อนหรือผ่าตัดก่อน
- การจัดฟันร่วมกับผ่าตัดขากรรไกร สามารถจัดฟันได้กี่แบบ
- ผู้ที่ไม่สามารถจัดฟันร่วมกับผ่าตัดขากรรไกรได้
- ขั้นตอนการจัดฟันร่วมกับผ่าตัดขากรรไกร
- การเตรียมตัวก่อนผ่าตัดขากรรไกร กรณีผ่าก่อนจัดฟัน
- การเตรียมตัวก่อนผ่าตัดขากรรไกร กรณีจัดฟันก่อนผ่าตัด
- จัดฟันร่วมกับผ่าตัดขากรรไกร เจ็บหรือไม่
- การดูแลหลังการจัดฟันร่วมกับผ่าตัดขากรรไกร
- รีวิว จัดฟันร่วมกับผ่าตัดขากรรไกร ที่ คลินิกฟันยิ้ม ราม 2
จัดฟันร่วมกับผ่าตัดขากรรไกร คืออะไร
การจัดฟันร่วมกับผ่าตัดขากรรไกร (Orthognathic surgery) หรือที่เรียกว่า “จัดร่วมผ่า” คือ การจัดฟันร่วมกับการผ่าตัดกระดูกขากรรไกร
เพื่อแก้ไขความผิดปกติบริเวณใบหน้าและกระดูกขากรรไกร โดยอาจผ่าตัดทั้งขากรรไกรล่างและขากรรไกรบน (Two Jaws Surgery)
ขึ้นกับการวินิจฉัยของทันตแพทย์ ที่พิจารณาจากปัญหาความซับซ้อนของฟันที่ผิดปกติ
การจัดร่วมผ่า สามารถแก้ปัญหาที่ส่งผลกระทบกับชีวิตประจำวันได้เช่น เคี้ยวหรือกลืนอาหารลำบาก ออกเสียงได้ไม่ชัดขณะพูด
ปัญหานอนกรน ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ (Obstructive Sleep Apnea: OSA) หรืออาการปวดบริเวณข้อต่อขากรรไกร (Temporomandibular Disorders: TMDs)
ทำให้มีอาการปวดบริเวณหน้าหู ในหู กกหู ขมับ หรือศีรษะ และยังอาจมีอาการขากรรไกรค้าง อ้าปากกับหุบปากได้อย่างจำกัดพร้อมกับความรู้สึกเจ็บ
นอกจากนี้การจัดฟันร่วมกับผ่าตัดขากรรไกร สามารถช่วยแก้ปัญหาโครงหน้าได้หลายส่วน
โดยอาจผ่าตัดกระดูกขากรรไกรไปพร้อมๆ กับอวัยวะข้างเคียง เช่น จมูก โหนกแก้ม คาง ปาก กราม
ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาโครงสร้างใบหน้าในบางรูปแบบได้ เช่น ผู้ที่มีคางยื่น คางเล็ก ปากอูม ฟันบนคร่อมฟันล่างมาก
ใบหน้าไม่สมมาตร ยิ้มเห็นเหงือกมาก หรือปิดปากได้ไม่สนิท
จัดฟันร่วมกับผ่าตัดขากรรไกร ต้องจัดฟันก่อนหรือผ่าตัดก่อน
ทันตแพทย์จะเป็นผู้เลือกรูปแบบการจัดฟันร่วมกับผ่าตัดให้กับผู้เข้ารับบริการแต่ละท่านตามความเหมาะสม
รวมถึงพิจารณาจากลักษณะความผิดปกติของกระดูกฟันทั้งหมด โดยการจัดฟันร่วมกับผ่าตัดแบ่งออกได้ 2 รูปแบบ ได้แก่
- จัดฟันก่อน แล้วจึงผ่าตัด (Orthodontic-First Approach: OFA)
- ผ่าตัดก่อน แล้วจึงจัดฟัน (Surgery-First Approach: SFA)
ที่ผ่านมา ทันตแพทย์นิยมจัดฟันก่อนผ่าตัดขากรรไกรเพื่อแก้ปัญหาโครงสร้างฟันให้ได้องศาที่ถูกต้องแล้วค่อยผ่าตัด
เพื่อแก้ปัญหาในส่วนของกระดูกขากรรไกรบนหรือล่างอีกครั้ง
ปัจจุบัน การผ่าตัดขากรรไกรก่อนแล้วค่อยจัดฟันภายหลังเริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้น
โดยแก้ปัญหาการเรียงตัวของฟันด้วยการผ่าตัดเปลี่ยนแปลงลักษณะกระดูกขากรรไกรก่อนแล้วค่อยจัดฟันเพื่อแก้ปัญหาโครงสร้างฟัน
นอกจากนี้ในทางทฤษฎีเชื่อว่า การผ่าตัดขากรรไกรก่อนจัดฟัน เป็นปัจจัยที่กระตุ้นให้ฟันเคลื่อนที่เร็วขึ้น
เทียบกับการจัดฟันก่อนผ่าตัด ซึ่งมักจะใช้ระยะเวลาในการจัดฟันอยู่ที่ 1-4 ปี แต่หากเป็นการผ่าตัดขากรรไกรก่อนจัดฟัน
ระยะเวลาจะอยู่ที่ 6 เดือนถึง 1 ปี
การจัดฟันร่วมกับผ่าตัดขากรรไกร สามารถจัดฟันได้กี่แบบ
การจัดฟันร่วมกับผ่าตัดขากรรไกร สามารถจัดฟันได้ทั้งแบบโลหะ แบบเซรามิก หรือแบบใส
ทั้งนี้ทันตแพทย์จะเป็นผู้แนะนำประเภทของอุปกรณ์จัดฟันที่เหมาะสมกับผู้เข้ารับบริการที่สุด
แต่หากเลือกรูปแบบการจัดฟันเอาไว้แล้ว สามารถปรึกษาทันตแพทย์เพื่อพิจารณาใจัดฟันแบบที่ต้องการก่อนได้
ผู้ที่ไม่สามารถจัดฟันร่วมกับผ่าตัดขากรรไกรได้
ผู้ที่มีปัญหาด้านสุขภาพหรือโรคประจำตัว ควรปรึกษาทันตแพทย์ก่อนจัดฟันร่วมกับผ่าตัดขากรรไกร ได้แก่
- หญิงตั้งครรภ์หรือกำลังให้นมบุตร
- มีประวัติแพ้ยาชาหรือยาสลบ
- ผู้ป่วยโรคเกี่ยวกับระบบไหลเวียนเลือด และโรคความดันโลหิต
- ผู้ป่วยโรคเบาหวาน
- กำลังใช้ยาเกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด หรือยาละลายลิ่มเลือด
- กำลังเป็นโรคในช่องปาก เช่น โรคปริทันต์อักเสบ ฟันผุ โรคเหงือกอักเสบ
การจัดฟันร่วมกับผ่าตัดขากรรไกร ผู้เข้ารับบริการจะต้องโตเต็มที่เพื่อให้กระดูกและฟันหลังจากรักษาไม่มีการเปลี่ยนแปลงอีก
โดยผู้หญิงควรอยู่ที่ช่วงอายุประมาณ 14-16 ปีขึ้นไป ส่วนผู้ชายจะอยู่ที่ช่วงอายุประมาณ 17-21 ปีขึ้นไป
ขั้นตอนการจัดฟันร่วมกับผ่าตัดขากรรไกร
กระบวนการแก้ปัญหาโครงสร้างฟันและกระดูกขากรรไกรผ่านการจัดฟันร่วมกับผ่าตัดมีขั้นตอนดังนี้
- ตรวจสุขภาพฟันเพื่อดูโครงสร้างฟันกับกระดูกขากรรไกรที่ผิดปกติ
- ถ่ายภาพลักษณะฟัน ระนาบของกระดูกขากรรไกร ถ่ายภาพรังสีหรือเอกซเรย์ดูการเรียงตัวของฟัน
และทำแบบจำลองการสบฟัน เพื่อดูการเชื่อมต่อระหว่างกันของฟันและกระดูกขากรรไกรอย่างละเอียด
3.วางแผนการรักษา เพื่อเลือกระหว่างวิธีจัดฟันก่อนผ่าตัดขากรรไกร หรือวิธีผ่าตัดขากรรไกรก่อนจัดฟัน
รวมถึงประเมินฟันที่อาจต้องถอนออก ระยะเวลาในการจัดฟัน ช่วงเวลาที่คาดว่าจะรับการผ่าตัด ขั้นตอนการผ่าตัด
รวมไปถึงค่าใช้จ่ายในการรับการรักษา
4.กรณีที่ต้องผ่าตัดขากรรไกรก่อนจัดฟัน แพทย์จะวางแผนการผ่าตัดอย่างละเอียด รวมถึงพิมพ์ฟันเพื่อทดลองผ่าตัด
และนัดหมายวันผ่าตัดกับผู้เข้ารับบริการ
5.กรณีต้องจัดฟันก่อนผ่าตัดขากรรไกร กระบวนการต่อไปเหมือนกับการจัดฟันทุกอย่าง
คือเลือกวัสดุของอุปกรณ์จัดฟัน พิมพ์ฟัน และนัดหมายให้ผู้เข้ารับบริการเดินทางมาใส่อุปกรณ์จัดฟัน
6.หลังผ่าตัดเสร็จเรียบร้อยแล้ว ทันตแพทย์จะเว้นช่วงเวลาในรการพักฟื้นแผลประมาณ 4-6 สัปดาห์
จากนั้นค่อยนัดหมายมาตรวจดูการเปลี่ยนแปลงของกระดูกขากรรไกร และเพื่อพิมพ์ฟันสำหรับออกแบบอุปกรณ์จัดฟัน
7.ผู้ที่จัดฟันก่อนผ่าตัดขากรรไกร หลังจากผู้เข้ารับบริการจัดฟันครบตามระยะเวลาในแผนการรักษาแล้ว
ทันตแพทย์ก็จะตรวจการเปลี่ยนแปลงของตำแหน่งฟัน เพื่อพิจารณาการผ่าตัดขากรรไกร
การเตรียมตัวก่อนผ่าตัดขากรรไกร กรณีผ่าก่อนจัดฟัน
ก่อนเริ่มกระบวนการทั้งหมด ทันตแพทย์จะถ่ายภาพและเอกซเรย์ฟันแบบ 3 มิติ
ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์รวมถึงพิมพ์ฟันเพื่อใช้ในการจำลองการผ่าตัด และอาจให้ผู้เข้ารับบริการทำเฝือกสบฟัน (Occlusal splint)
เพื่อใช้บรรเทาความเจ็บปวดบริเวณข้อต่อขากรรไกรหลังผ่าตัด และเพื่อลดการสบฟันที่ยังไม่เหมาะสมหลังผ่าตัดเสร็จแล้ว
ผู้เข้ารับบริการยังต้องแจ้งประวัติสุขภาพ ประวัติการแพ้ยา โรคประจำตัว ยาประจำตัว วิตามิน อาหารเสริม
และสมุนไพรที่กำลังรับประทานอยู่ให้แพทย์ทราบอย่างละเอียด
ในหลายสถานพยาบาลจะมีการให้นอนพักฟื้นที่โรงพยาบาลหลังจากผ่าตัดประมาณ 1-2 คืน ผู้เข้ารับบริการควรพาญาติหรือคนสนิทมาด้วย
เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกระหว่างที่พักฟื้น เพราะในระหว่างนั้นอาจพูดหรือเคี้ยวอาหารไม่ถนัด
การเตรียมตัวก่อนผ่าตัดขากรรไกร กรณีจัดฟันก่อนผ่าตัด
การวางแผนการจัดฟันจะมีทั้งการกำหนดระยะเวลา การเลือกชนิดของอุปกรณ์จัดฟัน
ความถี่ในการมาเปลี่ยนอุปกรณ์จัดฟันแต่ละชุด ทันตแพทย์จะถ่ายภาพฟันและอาจรวมถึงเอกซเรย์ฟันแบบ 3 มิติ
จากนั้นจึงพิมฟันเพื่อนำส่งไปออกแบบอุปกรณ์จัดฟันต่อไป
ผู้เข้ารับบริการก็จะต้องใส่อุปกรณ์จัดฟันอย่างสม่ำเสมอตามระยะเวลาที่แพทย์กำหนด โครงสร้างใบหน้าของผู้เข้ารับบริการอาจเปลี่ยนแปลง
ไปในทางที่แย่ลงชั่วคราว เช่น ฟันยื่นหรือปากอูมมากว่าเดิม เนื่องจากเป็นการจัดฟันเพื่อให้ฟันเรียงตัวพร้อมสำหรับการผ่าตัด
และไม่ใช่กระบวนการสุดท้ายของการรักษา
เมื่อตำแหน่งฟันมีความพร้อมเหมาะสมต่อการผ่าตัด ทันตแพทย์จะนัดหมายให้ผู้เข้ารับบริการมารับการผ่าตัดขากรรไกร
หลังจากนั้นโครงสร้างใบหน้าก็จะได้รับการแก้ไขให้เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น
จัดฟันร่วมกับผ่าตัดขากรรไกร เจ็บหรือไม่
การทำหัตถการผ่าตัดผู้เข้ารับบริการจะมีอาการเจ็บและระบมแผลหลังจากผ่าตัดได้
โดยปกติทันตแพทย์จะฉีดยาชาและให้ยาแก้ปวดกับผู้เข้ารับบริการทุกท่าน ซึ่งช่วยบรรเทาความรู้สึกเหล่านี้ลงไปได้ในส่วนหนึ่ง
สำหรับระยะเวลาในการพักฟื้นหลังจากผ่าตัดขากรรไกรจะอยู่ที่ประมาณ 4-6 สัปดาห์ อาจสั้นหรือเร็วกว่านั้น
ขึ้นอยู่กับลักษณะแผลผ่าตัด รวมถึงการผ่าตัดศัลยกรรมตกแต่งอวัยวะส่วนอื่นๆ ที่ทำไปพร้อมกับการผ่าตัดขากรรไกร
การดูแลหลังการจัดฟันร่วมกับผ่าตัดขากรรไกร
ผู้เข้ารับบริการจะต้องใส่รีเทนเนอร์อย่างสม่ำเสมอ ระมัดระวังอย่าให้ลืมเด็ดขาด
และต้องหมั่นมาพบทันตแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพฟันเช่นเดิมในทุกๆ 6 เดือนอย่างให้ขาดด้วยเช่นกัน
เพื่อลดโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตราย หลังการผ่าตัดขากรรไกรผู้เข้ารับบริการต้องปฏิบัติตามคำแนะทำของทันตแพทย์อย่างเคร่งครัด ดังนี้
- บ้วนปากและแปรงฟันอย่างสม่ำเสมอ
- รับประทานยาแก้ปวดที่แพทย์สั่งจ่ายให้เพื่อบรรเทาอาการ
- งดขากเสมหะหรือถุงน้ำลายแรงๆ
- ห้ามแตะหรือเขี่ยแผลผ่าตัดเด็ดขาด เพื่อลดโอกาาสติดเชื้อจากสิ่งสกปรก
- รับประทานอาหารที่เป็นของเหลวอย่างน้อย 1-2 สัปดาห์แรกหลังผ่าตัด
- งดการเคี้ยวอาหารใดๆ เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 3 เดือนหลังจากผ่าตัด
โดยในช่วงเดือนที่ 2 อาจเริ่มเคี้ยวอาหารที่เนื้ออ่อนนุ่มได้
- งดการสูบบุหรี่และบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด
- งดออกกำลังกายและทำกิจกรรมที่ต้องออกแรงมากในช่วง 1-2 สัปดาห์แรกหลังผ่าตัด
และในช่วง 1-3 เดือนแรก ควรงดการออกกำลังกายที่หนัก ผาดโผน ต้องมีการปะทะกับผู้อื่น
- หากมีอาการบวมหรือรู้สึกปวดในช่วง 3-5 วันแรก ให้ประคบเย็นเพื่อลดอาการได้
แต่หลังจากนั้นให้เปลี่ยนไปประคบร้อนหรือประคบอุ่นแทนอย่างต่อเนื่องประมาณ 3 วัน
- นอนหมอนสูงประมาณ 30 องศา เป็นเวลา 2 สัปดาห์ เพื่อลดอาการแผลบวม
- ใส่เฝือกสบฟันหรือยางยึดขากรรไกรตามที่แพทย์แนะนำอย่างสม่ำเสมอ
- มาตัดไหมและตรวจความเรียบร้อยของแผลตามที่แพทย์นัด
รีวิว จัดฟันร่วมกับผ่าตัดขากรรไกร ที่ คลินิกฟันยิ้ม ราม 2
คลินิกฟันยิ้ม ราม 2 เป็นคลินิกเฉพาะทางด้านการจัดฟันย่านบางนา ราม 2 บางพลี
รวมถึงการจัดฟันร่วมกับผ่าตัดขากรรไกรโดยทันตแพทย์เฉพาะทางที่มีประสบการณ์สูง
มีความพร้อมและสามารถช่วยแก้ปัญหาการเรียงตัวของฟันได้ทุกรูปแบบ
โดยตัวอย่างของผู้เข้ารับบริการที่จัดฟันร่วมกับผ่าตัดขากรรไกร ที่ คลินิกฟันยิ้ม ราม 2 มีดังนี้
จัดฟันร่วมกับผ่าตัดขากรรไกร ที่ คลินิกฟันยิ้ม ราม 2
หากคุณยังไม่รู้ว่า จัดฟันร่วมกับผ่าตัดขากรรไกรที่ไหนดี? หมอแอน ทพญ. ลลิตา รัชกิจประการ ทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดฟัน
และ หมอจ๋า ผศ.ทพญ.ณฤษพร ชัยประกิจ ทันตแพทย์เฉพาะทางศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล จากคลินิกฟันยิ้ม ราม 2
สามารถให้คำปรึกษาและมอบแนวทางการจัดฟันที่เหมาะสม เห็นผลลัพธ์อย่างที่คุณต้องการได้มากที่สุด
ที่คลินิกฟันยิ้ม ราม 2 จะวิเคราะห์ลักษณะปัญหาการจัดเรียงตัวของฟันผู้เข้ารับบริการและวางแผนการจัดฟันร่วมกับผ่าตัดขากรรไกร
โดยคำนึงถึงผลลัพธ์ของการใช้ชีวิตที่สะดวกสบาย
คลินิกฟันยิ้ม ราม 2 คลินิกทำฟันย่านบางนา ราม 2 บางพลี พร้อมต้อนรับและพร้อมที่จะเป็นผู้ช่วยเปลี่ยนแปลงฟันทุกซี่ของคุณให้เรียงอย่างสวยงามสม่ำเสมอทุกซี่
จะยิ้มกี่ครั้งก็มั่นใจ ไม่หวั่นต่อทุกสายตาที่มองตรงมาหา ด้วยการจัดฟันร่วมกับผ่าตัดขากรรไกรโดยทันตแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญ
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่