🦷😫อาการปวดฟันต่างๆอาจเกิดจากปัญหา ฟันคุด โดยหลายคนอาจสงสัยว่าฟันคุดคืออะไร
เกิดจากสาเหตุใด ส่งผลกระทบอย่างไรกับสุขภาพฟันของเราบ้าง
แล้วจำเป็นที่ต้องต้องรักษา ถอน หรือผ่าฟันคุดออกไหม วันนี้จะไปหาคำตอบในเรื่องนี้กันค่ะ 👏👏
เลือกหัวข้อที่ต้องการอ่าน
- ฟันคุด คืออะไร
- สาเหตุการเกิดฟันคุด
- อาการฟันคุดเมื่อเป็นมีลักษณะอย่างไร
- ทำไมต้องถอนหรือผ่าฟันคุด
- ถอนฟันคุด ผ่าฟันคุด ต่างกันอย่างไร ฟันคุดแบบไหนไม่ต้องผ่า
- ขั้นตอนการผ่าฟันคุด
- การดูแลช่องปากหลังผ่าฟันคุด
- ระยะเวลาในการผ่าฟันคุดและรักษา
- อาการข้างเคียงหลังผ่าฟันคุด
- ผ่าฟันคุด ราคาเท่าไหร่
- ผ่าฟันคุดที่ไหนดี ใกล้บ้าน
- คำถามที่พบบ่อย
- สรุปหัวข้อการผ่าฟันคุด
ฟันคุด คืออะไร
👨⚕️👩⚕️ฟันคุด ( Impacted Tooth, Wisdom Tooth ) คือ ฟันที่ไม่สามารถขึ้นในช่องปากได้ตามปกติแบบฟันซี่อื่นๆ
โดยจะขึ้นออกมาเพียงบางส่วนหรือขึ้นตามแนวฟันที่ล้มเอียงไม่เต็มซี่ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นฟันกรามใหญ่ซี่ในสุดของช่องปาก
การที่ฟันซี่นี้ไม่สามารถขึ้นได้ตามปกตินั้น เกิดจาสาเหตุ พื่นที่ของสันกระดูกขากรรไกรไม่เพียงพอในการขึ้นของฟันซี่นี้
หรือขึ้นโดยรูปแบบที่มีรูปร่างฟันแบบไม่ปกตินั้นเอง ✅✅
สาเหตุการเกิดฟันคุด
⭕โดยปกติแล้วฟันคุด จะพบในช่วงอายุ 16-25 ปี เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่ฟันกรามหลังสุดซี่ที่ 3 เจริญเติบโตและพยายามจะดันเพื่อขึ้นมาในช่องปาก
มีลักษณะเป็นแบบ ตั้งตรง เอียง หรือนอนในแนวราบ และมักจะอยู่ชิดกับฟันซี่ข้างเคียงบริเวณฟันกรามล่างซี่สุดท้าย นอกจากฟันคุดบริเวณฟันกรามล่างซี่สุดท้ายแล้ว
ยังมีโอกาสพบฟันคุดได้บริเวณฟันซี่อื่นๆ ฟันเขี้ยว ฟันกรามน้อย แต่มีโอกาสพบได้น้อย กว่าฟันกรามล่างซี่สุดท้ายนั้นเอง ✅✅
อาการฟันคุดเมื่อเป็นมีลักษณะอย่างไร
⭕⭕การจะตรวจดูลักษณะของฟันคุดนั้น จะต้องใช้การเอกซเรย์จึงจะสามารถเห็นลักษณะได้ โดยอาการของผู้ที่มีฟันคุด เหงือกบวม อาจมีอาการปวดฟัน
โดยจะรู้สึกเจ็บปวดมาก โดยอาจเกิดจากอาการอักเสบของเหงือกรอบๆ จนทำให้เกิดอาการ อ้าปากได้ยากขึ้น กลืนน้ำลายแล้วเจ็บคอ ร่วมด้วย
ในบางกรณีอาจมีอาการบวมและติดเชื้อลุกลามมาถึงใบหน้า แก้ม และลำคอ และหากปล่อยไว้นานเข้าอาจจะทำให้เกิดการติดเชื้อของฟันหรือเหงือกบริเวณนั้น
และทำให้เกิดอาการปวด บวม ยิ่งมีการติดเชื้อมากขึ้นเท่าไหร่ อาการปวดก็เพิ่มขึ้นเท่านั้น ✅✅
ทำไมต้องถอนหรือผ่าฟันคุด
👩⚕️👨⚕️ฟันคุดเป็นตัวการทำให้เกิดปัญหาฟันผุ และเมื่อฟันคุดงอกขึ้นมาในลักษณะผิดปกติจึงเป็นที่กักเศษอาหาร และเมื่อเราไม่สามารถทำความสะอาดออกได้ทั้งหมด
เพราะบริเวณที่ฝันคุดขึ้นนั้นจะอยู่ในซี่ฟันกล้ามลึดสุดจึงยากต่อการทำความสะอาด ส่งผลให้ฟันคุดซี่นั้นผุและมักลุกลามไปยังฟันซี่ข้างๆ ให้ผุตามไปด้วย
และอาจทำให้เกิดปัญหาเหงือกอักเสบ เพราะอาจมีเหงือกเข้าไป ปกคลุมฟัน และเมื่อมีเศษอาหารเข้าไปติดอยู่ใต้เหงือกแล้ว ไม่สามารถทำความสะอาดได้
เชื้อแบคทีเรียที่มาสะสมอยู่จะทำให้เหงือกเกิดการอักเสบ ปวดและบวมเป็นหนอง เกิดการแพร่กระจายของเชื้อโรค ไปยังส่วนอื่นๆ มีการติดเชื้อไปด้วย
นอกจากนี้ยังเป็นอุปสัก ในการทำทันตกรรมอื่นเช่น การจัดฟัน เพราะต้องถอนฟันกรามซี่ที่สาม ออกก่อนเพื่อให้ง่ายต่อการเคลื่อนฟันซี่อื่นๆ เป็นต้น
ถอนฟันคุด ผ่าฟันคุด ต่างกันอย่างไร ฟันคุดแบบไหนไม่ต้องผ่า
👩⚕️👨⚕️ฟันคุดที่พบบ่อยที่สุดจะอยู่ในฟันกรามซี่ในสุด หากขากรรไกรของคนไข้มีขนาดที่ใหญ่เพียงพอ
และลักษณะการขึ้นของฟันตรงได้ปกติและขึ้นได้เต็มซี่หรือติดเหงือกเล็กน้อยโดยที่ พื้นที่พอ
ทันตแพทย์สามารถถอนออกได้โดยไม่ต้องผ่า แต่หากฟันกรามซี่นั้นโผล่ขึ้นมาไม่เต็มซี่หรือมีลักษณะผิดปกติ
ไม่ว่าจะขึ้นตรงหรือเอียง ซึ่งหากพยายามไปงัดออกหรือถอน โดยที่ไม่ผ่าออกอาจส่งผลกระทบอันตรายต่อฟันซี่ใกล้เคียงได้✅✅
ขั้นตอนการผ่าฟันคุด
- เข้าพบทันตแพทย์เพื่อเอกเรย์ช่องปาก และตรวจเช็คตำแหน่งการขึ้นของฟันคุด เพื่อวางแผนการผ่า
- ขั้นตอนการผ่าทันตแพทย์จะทำการใส่ยาชา บริเวณที่จะทำการผ่าฟันคุด
- ทันตแพทย์จะทำการผ่าตัดเปิดเหงือก หลังจากนั้นผ่าฟันคุดออก และเย็บปิดปากแผล
- หลังจากผ่าเสร็จสิ้นทันตแพทย์จะให้คำแนะนำและข้อปฏิบัติเพื่อดูแลรักษาหลังผ่าฟันคุด
การดูแลช่องปากหลังผ่าฟันคุด
- หลังจากผ่าฟันคุดให้คนไข้กัดผ้าก๊อตให้แน่น ห้ามอม หรือบ้วนน้ำลาย 1 ชั่วโมง และหากยังมีเลือดไหลอยู่ ให้กัดผ้าก๊อตแผ่นใหม่ต่ออีก 1 ชั่วโมง
- ห้ามอมน้ำแข็ง หรือน้ำอุ่น และห้ามรับประทานอาหารรสจัดใน 2-3 วันแรก
- ลดการบ้วนน้ำแรงๆ หรือใช้น้ำยาบ้วนปาก 3 วันแรก หลังจากผ่าฟันคุดเพราะอาจทำให้เลือดที่กำลังจะแข็งตัวหลุดออกได้ และทำให้ปวดแผลได้
- ไม่ใช่นิ้วมือ หรือไม้จิ้มฟัน แคะและเขี่ยบริเวณแผล
- แปรงฟันทำความสะอาดได้ตามปกติ แต่ต้องระวังไม่ให้โดนแผลที่ผ่าฟันคุด
- รับประทานยาให้ครบตามที่ทันตแพทย์ให้ไป
- ห้ามดื่มสุรา หรือสูบบุหรี่เป็นเวลา 3 วัน
- ควรประคบเย็นที่แผลผ่าฟันคุด ภายหลังจากผ่าฟันคุด 1-2 วัน
- ไม่ออกกำลังกายหนักหรือกิจกรรมที่ทำให้เสียเหงื่อมาก 3 วันแรกหลังจากถอนฟันหรือผ่าฟันคุด
- หากมีอาการผิดปกติ เช่น เลือดไหลไม่หยุดเกิน 1 วัน หรือมีอาการปวดแผลมาก เกิน 3 วัน ควรกลับมาพบทันตแพทย์เพื่อตรวจอีกครั้ง
ระยะเวลาในการผ่าฟันคุดและรักษา
👨⚕️👩⚕️โดยจะใช้เวลาในการผ่าฟันคุดประมาณ 15-60 นาที ขึ้นอยู่กับความยากง่ายของฟันคุด หลังยาชาหมดฤทธิ์ อาจจะมีอาการปวดอยู่ประมาณ 2-3 วัน
หลังผ่าฟันคุดเสร็จ อาการเจ็บ หรือปวดจะค่อยๆ ดีขึ้นตามลำดับหลังผ่าฟันคุดไปประมาณ 2-3 วัน ระยะเวลาในการฟื้นตัวนั้นจะประมาณ 3-4 วัน หรือไม่เกิน 1-2 สัปดาห์
อาการข้างเคียงหลังผ่าฟันคุด
👨⚕️👩⚕️อาจจะเกิดการบวม ปวด หรืออ้าปากได้น้อยลงและอาการเจ็บแปลบ โดยอาการบวมจะเกิดจาก 2-3 วัน หลังจากผ่า หรือประมาณ 1 สัปดาห์ คนไข้สามารถประคบอุ่นเพื่อลดอาการบวมได้ โดยให้เริ่มประคบอุ่นวันที่ 3 หลังการผ่าฟันคุด
และอากากรปวด จะเกิดจากหลังยาชาหมดฤทธิ์ หากมีอาการปวดคนไข้สามารถทานยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการได้
ส่วนอาการอ้าปากได้น้อย เกิดจากการอักเสบหรือหดเกร็งของกล้ามเนื้อ สามารถบรรเทาได้โดยการประคบอุ่นหรือทานยาตามแพทย์สั่ง
และเจ็บแปลบ นั้นจะมีอาการชาที่ริมฝีปาก หรือลิ้น โดยอาจเกิดขึ้นจากฤทธิ์ของยาชา หรือกรณีที่ฟันคุดอยู่ลึกมากๆ อยู่ใกล้กับเส้นประสาท แต่จะค่อยๆ หายและดีขึ้นตามระยะเวลาการรักษา
ผ่าฟันคุด ราคาเท่าไหร่
🎉🎉โดยราคาของการผ่าฟันคุดจะเริ่มต้นที่ 2,000 – 4,500 บาท ขึ้นอยู่กับการรักษาชนิดของฟันคุด และความยากง่าย
ราคาถอนฟันคุด เริ่มต้นที่ 800 - 1000 บาท ขึ้นอยู่กับความยากง่าย
คนไข้สามารถใช้สิทธิเบิกประกันสังคมได้ 900 บาท โดยไม่ต้องสำรองจ่าย
🥰โปรโมชั่นผ่าฟันคุด ราคาพิเศษ🎉🎉
✨✨ ราคาเพียง 2,999 บาท เท่านั้น 👏💖
✨ ฟรี ค่ายา ประคบเย็น
🎉โปรโมชั่นนี้ สามารถใช้ได้ เฉพาะ วันจันทร์ อังคาร ศุกร์เท่านั้นน้าา 💐💐
*ราคาpromotion ไม่รวมX-ray (ไม่เกิน 400บาท)
**กรณีผ่าฟันคุดเคสยาก กับทันตแพทย์เฉพาะทาง อาจารย์คณะทันตะจุฬา ราคาเริ่มต้นที่ 3, 500 บาท **
สามารถสอบถามราคาและการรักษาผ่าฟันคุดเพิ่มเติมได้ที่ 👉👉
ผ่าฟันคุดที่ไหนดี ใกล้บ้าน
🙋♂️🙋การเลือกคลินิกผ่าฟันคุดและรักษา ควรคลินิกที่ได้มาตรฐาน ใกล้บ้าน สะดวกแก่การเดินทาง และมีทันตแพทย์เฉพาะทางผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยศาสตร์ช่องปากโดยตรง
และมีอุปกรณ์ เครื่องมือการรักษาที่ทันสมัย ได้มาตรฐานของทันตกรรมการผ่าฟันคุด
สามารถเข้ามาปรึกษากับคุณหมอเฉพาะทางเพื่อตรวจประเมินการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพก่อนเข้ารับการรักษา
ได้ที่ คลินิกฟันยิ้มราม2 บางนา บางพลี กิ่งแก้ว ตรงข้ามมหาวิทยาลัยรามคำแหง2 ใกล้กับเมกะบางนา
สามารถสอบถามข้อมูลเบื้องต้นหรือนัดหมายได้ที่ช่องทางนี้เลยค่าา 👉👉
คำถามที่พบบ่อย
🙋ผ่าฟันคุดเจ็บไหม ?
👨⚕️เนื่องจากวิธีการผ่าฟันคุด ขึ้นอยู่กับลักษณะของฟันคุด ความยากง่ายในการถอน ในรายที่ฟันคุดฟันล้มเอียง นอนราบ
จะทำให้มีการบาดเจ็บต่อเนื้อเยื่อรอบข้างมากกว่ารายที่ฟันคุดขึ้นแบบตั้งตรง แต่ก่อนเริ่มการรักษา จะมีการใช้ยาชาเฉพาะที่ตามความเหมาะสมเพื่อเบาเทาอาการ
🙋♂️ผ่าฟันคุดช่วยให้หน้าเรียวรึเปล่า?
👩⚕️การผ่าฟันคุด หรือถอนฟันคุด ไม่ได้ช่วยให้ใบหน้าของเราเรียวลง เพราะไม่ได้ทำให้ขากรรไกรเล็กลง
🙋ผ่าฟันคุด ตัดไหมกี่วัน
👨⚕️หลังผ่าฟันคุด คุณหมอจะนัดเข้ามาเพื่อติดตามอาการและตัดไหม หลังจากผ่า 7 วัน
🙋♂️จำเป็นต้องผ่าฟันคุดก่อนจัดฟันไหม
👩⚕️ไม่จำเป็นที่จะต้องผ่าออกก่อนจัดฟัน แต่ในบางกรณี ที่ฟันซี่ที่ติดกับฟันคุดผุ จะต้องเอาฟันคุดออกก่อน
โดยปกติแล้วทันตแพทย์จะแนะนำให้ถอนฟันคุดออกระหว่างจัด หรือก่อนถอดเครื่องมือจัดฟัน เพราะหลังจากที่เราเคลื่อนฟันแล้ว
อาจทำให้นำฟันคุดออกได้ง่ายขึ้น
🙋♂️🙋สามารถป้องกันการเกิดฟันคุดได้ไหม
👨⚕️👩⚕️ฟันคุดเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ไม่สามารถป้องกันได้ สิ่งที่ดีที่สุดคือการตรวจเช็คสุขภาพช่องปากและฟันอย่างสม่ำเสมอ
หากพบความผิดปกติ จะได้รักษาได้อย่างทันท่วงที
การผ่าฟันคุดออก ไม่ใช่เรื่องน่ากลัวหากเปรียบเทียบกับโทษที่อาจเกิดหากปล่อยฟันคุดไว้ ทั้งอาการเหงือกอักเสบ ฟันผุ
จึงควรตรวจช่องปากอย่างสม่ำเสมอเพื่อสามารถวางแผนการรักษากับทันตแพทย์ได้ทันที โดยไม่ต้องรอให้มีอาการปวด ส่งผลเสียในภายหลัง
🙋🙋♂️หาที่ผ่าฟันคุด ใกล้บ้าน ราม 2 บางนา บางพลี กิ่งแก้ว ใกล้เมกะบางนา
👨⚕️👩⚕️กำลังมองหาคลินิกผ่าฟันคุด ที่ไหนดี ใช้สิทธิประกันสังคมประจำปี ใกล้บ้าน บางนา บางพลี กิ่งแก้ว ราม2 ใกล้กับเมกะบางนา
เดินทางสะดวก มีที่จอดรถบริเวณหน้าร้าน บรรยากาศดี มีบริการทำฟันที่ครบวงจร ทำโดยทันตแพทย์ผู้มีประสบการณ์
และเครื่องมือที่ได้มาตรฐาน และเป็นคลินิกที่ผ่านการรับรองถูกต้องตามมาตรฐานทันตกรรม คลินิกฟันยิ้มราม2 ยินดีให้บริการค่ะ✅✅
สรุปหัวข้อการผ่าฟันคุด
👨⚕️👩⚕️การผ่าฟันคุดนั้น ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด หากมีอาการปวดหรือตรวจพบว่ามีฟันคุด บริเวณฟันกรามซี่ในสุด หรือบริเวณใกล้เคียง
ควรเข้ามาพบทันตแพทย์เพื่อตรวจและวางแผนการรักษา ไม่ควรทนเจ็บ ทนปวด ปล่อยทิ้งไว้นานไม่รักษา
เพราะอาจส่งผลกระทบข้างเคียงหรือเกิดปัญหาได้ในอนาคต ✅✅
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่