จัดฟันร่วมกับผ่าตัดขากรรไกร คืออะไร ดีอย่างไร ที่ไหนดี

 20 Jan 2023  เปิดอ่าน 710 ครั้ง

เลือกหัวข้อที่สนใจ


จัดฟันร่วมกับผ่าตัดขากรรไกร คืออะไร

การจัดฟันร่วมกับผ่าตัดขากรรไกร (Orthognathic surgery) หรือที่เรียกว่า “จัดร่วมผ่า” คือ การจัดฟันร่วมกับการผ่าตัดกระดูกขากรรไกร

เพื่อแก้ไขความผิดปกติบริเวณใบหน้าและกระดูกขากรรไกร โดยอาจผ่าตัดทั้งขากรรไกรล่างและขากรรไกรบน  (Two Jaws Surgery)

ขึ้นกับการวินิจฉัยของทันตแพทย์ ที่พิจารณาจากปัญหาความซับซ้อนของฟันที่ผิดปกติ 


การจัดร่วมผ่า สามารถแก้ปัญหาที่ส่งผลกระทบกับชีวิตประจำวันได้เช่น เคี้ยวหรือกลืนอาหารลำบาก ออกเสียงได้ไม่ชัดขณะพูด

ปัญหานอนกรน ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ (Obstructive Sleep Apnea: OSA) หรืออาการปวดบริเวณข้อต่อขากรรไกร (Temporomandibular Disorders: TMDs)

ทำให้มีอาการปวดบริเวณหน้าหู ในหู กกหู ขมับ หรือศีรษะ และยังอาจมีอาการขากรรไกรค้าง อ้าปากกับหุบปากได้อย่างจำกัดพร้อมกับความรู้สึกเจ็บ


นอกจากนี้การจัดฟันร่วมกับผ่าตัดขากรรไกร สามารถช่วยแก้ปัญหาโครงหน้าได้หลายส่วน

โดยอาจผ่าตัดกระดูกขากรรไกรไปพร้อมๆ กับอวัยวะข้างเคียง เช่น จมูก โหนกแก้ม คาง ปาก กราม

ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาโครงสร้างใบหน้าในบางรูปแบบได้ เช่น ผู้ที่มีคางยื่น คางเล็ก ปากอูม ฟันบนคร่อมฟันล่างมาก

ใบหน้าไม่สมมาตร ยิ้มเห็นเหงือกมาก หรือปิดปากได้ไม่สนิท


จัดฟันร่วมกับผ่าตัดขากรรไกร ต้องจัดฟันก่อนหรือผ่าตัดก่อน

ทันตแพทย์จะเป็นผู้เลือกรูปแบบการจัดฟันร่วมกับผ่าตัดให้กับผู้เข้ารับบริการแต่ละท่านตามความเหมาะสม

รวมถึงพิจารณาจากลักษณะความผิดปกติของกระดูกฟันทั้งหมด โดยการจัดฟันร่วมกับผ่าตัดแบ่งออกได้ 2 รูปแบบ ได้แก่


  1. จัดฟันก่อน แล้วจึงผ่าตัด (Orthodontic-First Approach: OFA) 
  2. ผ่าตัดก่อน แล้วจึงจัดฟัน (Surgery-First Approach: SFA)


ที่ผ่านมา ทันตแพทย์นิยมจัดฟันก่อนผ่าตัดขากรรไกรเพื่อแก้ปัญหาโครงสร้างฟันให้ได้องศาที่ถูกต้องแล้วค่อยผ่าตัด

เพื่อแก้ปัญหาในส่วนของกระดูกขากรรไกรบนหรือล่างอีกครั้ง 


ปัจจุบัน การผ่าตัดขากรรไกรก่อนแล้วค่อยจัดฟันภายหลังเริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้น

โดยแก้ปัญหาการเรียงตัวของฟันด้วยการผ่าตัดเปลี่ยนแปลงลักษณะกระดูกขากรรไกรก่อนแล้วค่อยจัดฟันเพื่อแก้ปัญหาโครงสร้างฟัน 


นอกจากนี้ในทางทฤษฎีเชื่อว่า การผ่าตัดขากรรไกรก่อนจัดฟัน เป็นปัจจัยที่กระตุ้นให้ฟันเคลื่อนที่เร็วขึ้น

เทียบกับการจัดฟันก่อนผ่าตัด ซึ่งมักจะใช้ระยะเวลาในการจัดฟันอยู่ที่ 1-4 ปี แต่หากเป็นการผ่าตัดขากรรไกรก่อนจัดฟัน

ระยะเวลาจะอยู่ที่ 6 เดือนถึง 1 ปี


การจัดฟันร่วมกับผ่าตัดขากรรไกร สามารถจัดฟันได้กี่แบบ

การจัดฟันร่วมกับผ่าตัดขากรรไกร สามารถจัดฟันได้ทั้งแบบโลหะ แบบเซรามิก หรือแบบใส

ทั้งนี้ทันตแพทย์จะเป็นผู้แนะนำประเภทของอุปกรณ์จัดฟันที่เหมาะสมกับผู้เข้ารับบริการที่สุด

แต่หากเลือกรูปแบบการจัดฟันเอาไว้แล้ว สามารถปรึกษาทันตแพทย์เพื่อพิจารณาใจัดฟันแบบที่ต้องการก่อนได้


ผู้ที่ไม่สามารถจัดฟันร่วมกับผ่าตัดขากรรไกรได้

ผู้ที่มีปัญหาด้านสุขภาพหรือโรคประจำตัว ควรปรึกษาทันตแพทย์ก่อนจัดฟันร่วมกับผ่าตัดขากรรไกร ได้แก่

  • หญิงตั้งครรภ์หรือกำลังให้นมบุตร
  • มีประวัติแพ้ยาชาหรือยาสลบ
  • ผู้ป่วยโรคเกี่ยวกับระบบไหลเวียนเลือด และโรคความดันโลหิต
  • ผู้ป่วยโรคเบาหวาน
  • กำลังใช้ยาเกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด หรือยาละลายลิ่มเลือด
  • กำลังเป็นโรคในช่องปาก เช่น โรคปริทันต์อักเสบ ฟันผุ โรคเหงือกอักเสบ


การจัดฟันร่วมกับผ่าตัดขากรรไกร ผู้เข้ารับบริการจะต้องโตเต็มที่เพื่อให้กระดูกและฟันหลังจากรักษาไม่มีการเปลี่ยนแปลงอีก

โดยผู้หญิงควรอยู่ที่ช่วงอายุประมาณ 14-16 ปีขึ้นไป ส่วนผู้ชายจะอยู่ที่ช่วงอายุประมาณ 17-21 ปีขึ้นไป


ขั้นตอนการจัดฟันร่วมกับผ่าตัดขากรรไกร

กระบวนการแก้ปัญหาโครงสร้างฟันและกระดูกขากรรไกรผ่านการจัดฟันร่วมกับผ่าตัดมีขั้นตอนดังนี้

  1. ตรวจสุขภาพฟันเพื่อดูโครงสร้างฟันกับกระดูกขากรรไกรที่ผิดปกติ
  2. ถ่ายภาพลักษณะฟัน ระนาบของกระดูกขากรรไกร ถ่ายภาพรังสีหรือเอกซเรย์ดูการเรียงตัวของฟัน

และทำแบบจำลองการสบฟัน เพื่อดูการเชื่อมต่อระหว่างกันของฟันและกระดูกขากรรไกรอย่างละเอียด

3.วางแผนการรักษา เพื่อเลือกระหว่างวิธีจัดฟันก่อนผ่าตัดขากรรไกร หรือวิธีผ่าตัดขากรรไกรก่อนจัดฟัน

รวมถึงประเมินฟันที่อาจต้องถอนออก ระยะเวลาในการจัดฟัน ช่วงเวลาที่คาดว่าจะรับการผ่าตัด ขั้นตอนการผ่าตัด

รวมไปถึงค่าใช้จ่ายในการรับการรักษา

4.กรณีที่ต้องผ่าตัดขากรรไกรก่อนจัดฟัน แพทย์จะวางแผนการผ่าตัดอย่างละเอียด รวมถึงพิมพ์ฟันเพื่อทดลองผ่าตัด

และนัดหมายวันผ่าตัดกับผู้เข้ารับบริการ

5.กรณีต้องจัดฟันก่อนผ่าตัดขากรรไกร กระบวนการต่อไปเหมือนกับการจัดฟันทุกอย่าง

คือเลือกวัสดุของอุปกรณ์จัดฟัน พิมพ์ฟัน และนัดหมายให้ผู้เข้ารับบริการเดินทางมาใส่อุปกรณ์จัดฟัน

6.หลังผ่าตัดเสร็จเรียบร้อยแล้ว ทันตแพทย์จะเว้นช่วงเวลาในรการพักฟื้นแผลประมาณ 4-6 สัปดาห์

จากนั้นค่อยนัดหมายมาตรวจดูการเปลี่ยนแปลงของกระดูกขากรรไกร และเพื่อพิมพ์ฟันสำหรับออกแบบอุปกรณ์จัดฟัน

7.ผู้ที่จัดฟันก่อนผ่าตัดขากรรไกร หลังจากผู้เข้ารับบริการจัดฟันครบตามระยะเวลาในแผนการรักษาแล้ว

ทันตแพทย์ก็จะตรวจการเปลี่ยนแปลงของตำแหน่งฟัน เพื่อพิจารณาการผ่าตัดขากรรไกร


การเตรียมตัวก่อนผ่าตัดขากรรไกร กรณีผ่าก่อนจัดฟัน

ก่อนเริ่มกระบวนการทั้งหมด ทันตแพทย์จะถ่ายภาพและเอกซเรย์ฟันแบบ 3 มิติ

ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์รวมถึงพิมพ์ฟันเพื่อใช้ในการจำลองการผ่าตัด และอาจให้ผู้เข้ารับบริการทำเฝือกสบฟัน (Occlusal splint)

เพื่อใช้บรรเทาความเจ็บปวดบริเวณข้อต่อขากรรไกรหลังผ่าตัด และเพื่อลดการสบฟันที่ยังไม่เหมาะสมหลังผ่าตัดเสร็จแล้ว


ผู้เข้ารับบริการยังต้องแจ้งประวัติสุขภาพ ประวัติการแพ้ยา โรคประจำตัว ยาประจำตัว วิตามิน อาหารเสริม

และสมุนไพรที่กำลังรับประทานอยู่ให้แพทย์ทราบอย่างละเอียด 


ในหลายสถานพยาบาลจะมีการให้นอนพักฟื้นที่โรงพยาบาลหลังจากผ่าตัดประมาณ 1-2 คืน ผู้เข้ารับบริการควรพาญาติหรือคนสนิทมาด้วย

เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกระหว่างที่พักฟื้น เพราะในระหว่างนั้นอาจพูดหรือเคี้ยวอาหารไม่ถนัด


การเตรียมตัวก่อนผ่าตัดขากรรไกร กรณีจัดฟันก่อนผ่าตัด

การวางแผนการจัดฟันจะมีทั้งการกำหนดระยะเวลา การเลือกชนิดของอุปกรณ์จัดฟัน

ความถี่ในการมาเปลี่ยนอุปกรณ์จัดฟันแต่ละชุด ทันตแพทย์จะถ่ายภาพฟันและอาจรวมถึงเอกซเรย์ฟันแบบ 3 มิติ

จากนั้นจึงพิมฟันเพื่อนำส่งไปออกแบบอุปกรณ์จัดฟันต่อไป 


ผู้เข้ารับบริการก็จะต้องใส่อุปกรณ์จัดฟันอย่างสม่ำเสมอตามระยะเวลาที่แพทย์กำหนด โครงสร้างใบหน้าของผู้เข้ารับบริการอาจเปลี่ยนแปลง

ไปในทางที่แย่ลงชั่วคราว เช่น ฟันยื่นหรือปากอูมมากว่าเดิม เนื่องจากเป็นการจัดฟันเพื่อให้ฟันเรียงตัวพร้อมสำหรับการผ่าตัด

และไม่ใช่กระบวนการสุดท้ายของการรักษา 


เมื่อตำแหน่งฟันมีความพร้อมเหมาะสมต่อการผ่าตัด ทันตแพทย์จะนัดหมายให้ผู้เข้ารับบริการมารับการผ่าตัดขากรรไกร

หลังจากนั้นโครงสร้างใบหน้าก็จะได้รับการแก้ไขให้เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น


จัดฟันร่วมกับผ่าตัดขากรรไกร เจ็บหรือไม่

การทำหัตถการผ่าตัดผู้เข้ารับบริการจะมีอาการเจ็บและระบมแผลหลังจากผ่าตัดได้

โดยปกติทันตแพทย์จะฉีดยาชาและให้ยาแก้ปวดกับผู้เข้ารับบริการทุกท่าน ซึ่งช่วยบรรเทาความรู้สึกเหล่านี้ลงไปได้ในส่วนหนึ่ง


สำหรับระยะเวลาในการพักฟื้นหลังจากผ่าตัดขากรรไกรจะอยู่ที่ประมาณ 4-6 สัปดาห์ อาจสั้นหรือเร็วกว่านั้น

ขึ้นอยู่กับลักษณะแผลผ่าตัด รวมถึงการผ่าตัดศัลยกรรมตกแต่งอวัยวะส่วนอื่นๆ ที่ทำไปพร้อมกับการผ่าตัดขากรรไกร


การดูแลหลังการจัดฟันร่วมกับผ่าตัดขากรรไกร

ผู้เข้ารับบริการจะต้องใส่รีเทนเนอร์อย่างสม่ำเสมอ ระมัดระวังอย่าให้ลืมเด็ดขาด

และต้องหมั่นมาพบทันตแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพฟันเช่นเดิมในทุกๆ 6 เดือนอย่างให้ขาดด้วยเช่นกัน


เพื่อลดโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตราย หลังการผ่าตัดขากรรไกรผู้เข้ารับบริการต้องปฏิบัติตามคำแนะทำของทันตแพทย์อย่างเคร่งครัด ดังนี้


  • บ้วนปากและแปรงฟันอย่างสม่ำเสมอ
  • รับประทานยาแก้ปวดที่แพทย์สั่งจ่ายให้เพื่อบรรเทาอาการ
  • งดขากเสมหะหรือถุงน้ำลายแรงๆ 
  • ห้ามแตะหรือเขี่ยแผลผ่าตัดเด็ดขาด เพื่อลดโอกาาสติดเชื้อจากสิ่งสกปรก
  • รับประทานอาหารที่เป็นของเหลวอย่างน้อย 1-2 สัปดาห์แรกหลังผ่าตัด 
  • งดการเคี้ยวอาหารใดๆ เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 3 เดือนหลังจากผ่าตัด

โดยในช่วงเดือนที่ 2 อาจเริ่มเคี้ยวอาหารที่เนื้ออ่อนนุ่มได้

  • งดการสูบบุหรี่และบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด
  • งดออกกำลังกายและทำกิจกรรมที่ต้องออกแรงมากในช่วง 1-2 สัปดาห์แรกหลังผ่าตัด

และในช่วง 1-3 เดือนแรก ควรงดการออกกำลังกายที่หนัก ผาดโผน ต้องมีการปะทะกับผู้อื่น

  • หากมีอาการบวมหรือรู้สึกปวดในช่วง 3-5 วันแรก ให้ประคบเย็นเพื่อลดอาการได้

แต่หลังจากนั้นให้เปลี่ยนไปประคบร้อนหรือประคบอุ่นแทนอย่างต่อเนื่องประมาณ 3 วัน

  • นอนหมอนสูงประมาณ 30 องศา เป็นเวลา 2 สัปดาห์ เพื่อลดอาการแผลบวม
  • ใส่เฝือกสบฟันหรือยางยึดขากรรไกรตามที่แพทย์แนะนำอย่างสม่ำเสมอ
  • มาตัดไหมและตรวจความเรียบร้อยของแผลตามที่แพทย์นัด


รีวิว จัดฟันร่วมกับผ่าตัดขากรรไกร ที่ คลินิกฟันยิ้ม ราม 2

คลินิกฟันยิ้ม ราม 2 เป็นคลินิกเฉพาะทางด้านการจัดฟันย่านบางนา ราม 2 บางพลี

รวมถึงการจัดฟันร่วมกับผ่าตัดขากรรไกรโดยทันตแพทย์เฉพาะทางที่มีประสบการณ์สูง

มีความพร้อมและสามารถช่วยแก้ปัญหาการเรียงตัวของฟันได้ทุกรูปแบบ


โดยตัวอย่างของผู้เข้ารับบริการที่จัดฟันร่วมกับผ่าตัดขากรรไกร ที่ คลินิกฟันยิ้ม ราม 2 มีดังนี้


จัดฟันร่วมกับผ่าตัดขากรรไกร ที่ คลินิกฟันยิ้ม ราม 2

หากคุณยังไม่รู้ว่า จัดฟันร่วมกับผ่าตัดขากรรไกรที่ไหนดี? หมอแอน ทพญ. ลลิตา รัชกิจประการ ทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดฟัน

และ หมอจ๋า ผศ.ทพญ.ณฤษพร ชัยประกิจ ทันตแพทย์เฉพาะทางศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล จากคลินิกฟันยิ้ม ราม 2

สามารถให้คำปรึกษาและมอบแนวทางการจัดฟันที่เหมาะสม เห็นผลลัพธ์อย่างที่คุณต้องการได้มากที่สุด

ที่คลินิกฟันยิ้ม ราม 2 จะวิเคราะห์ลักษณะปัญหาการจัดเรียงตัวของฟันผู้เข้ารับบริการและวางแผนการจัดฟันร่วมกับผ่าตัดขากรรไกร

โดยคำนึงถึงผลลัพธ์ของการใช้ชีวิตที่สะดวกสบาย

คลินิกฟันยิ้ม ราม 2 คลินิกทำฟันย่านบางนา ราม 2 บางพลี พร้อมต้อนรับและพร้อมที่จะเป็นผู้ช่วยเปลี่ยนแปลงฟันทุกซี่ของคุณให้เรียงอย่างสวยงามสม่ำเสมอทุกซี่

จะยิ้มกี่ครั้งก็มั่นใจ ไม่หวั่นต่อทุกสายตาที่มองตรงมาหา ด้วยการจัดฟันร่วมกับผ่าตัดขากรรไกรโดยทันตแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญ


สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

รีวิว

ติดต่อเรา

คลินิกทันตกรรมฟันยิ้ม ราม2

เบอร์โทร

098-226-2326

ที่อยู่

172 ม.8 ซอยรามคำแหง2 ซอย 11แขวงดอกไม้ เขตประเวศ กรุงเทพมหานคร
แผนที่

เวลาทำการ

10:00-20:00 ทุกวัน